กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565

วันที่ 18 สิงหาคม 2565
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2565 ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (พื้นที่ทุ่งกะโล่) โดยการประกวดแข่งขัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์ทั่วไป และประเภทสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี และแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน จำนวน 45 ผลงาน
.
ซึ่งผลการตัดสินการประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 สรุปได้ดังนี้
โครงงานประเภทวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
🥇รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
โครงงาน : การพัฒนาเพคตินเพื่อใช้เป็นสารเคลือบผิวในการรักษาคุณภาพผลไม้เพื่อการส่งออก
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนอุตรดิตถ์
โครงงาน : กระดาษจากวัสดุธรรมชาติผสมไคโตซานดูดซับน้ำมัน
🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนพนมมาศพิทยากร
โครงงาน : การศึกษาวิธีการผลิตกระดาษจากเส้นใยกาบกล้วยร่วมกับการใช้สีย้อมธรรมชาติ
.
โครงงานประเภทวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
🥇รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : การศึกษาการสังเคราะห์และคุณสมบัติบางประการของสารคีแตมเพื่อประยุกต์ใช้เป็นสารเคลือบไหมเย็บแผลทางการแพทย์
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก
โครงงาน : ปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตวัสดุดูดซับคราบน้ำมันในน้ำเสีย จากของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมประมงน้ำเค็ม
🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : นาโนอิมัลชันสารสกัดไลโคปีนจากมะเขือเทศที่เตรียมจากสารลดแรงตึงผิวชนิดต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในเวชสำอางที่ช่วยรักษาผิว
.
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
🥇รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : เครื่องคำนวณเวลาในการตกของดวงอาทิตย์จากมุมเงย
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : เครื่องคัดแยกขนาดผลส้มเขียวหวาน อัตโนมัติ
.
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
🥇รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : ฆ้องวงใหญ่ไฟฟ้า
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
โครงงาน : เก้าอี้รอคิวอัจฉริยะ (i-Distancing Chair)
🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
โครงงาน : การเอนแคปซูเลซันแอนโทไซยานินจากลูกหม่อนด้วยเทคนิครีเวริสสเพียริฟิเคชันเพื่อผลิตเยลลี่เพื่อสุขภาพที่มีส่วนผสมของผงบุก
.
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับทุกผลงานที่ได้รับรางวัลด้วยนะครับ