ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานต้นแบบของการบริหารจัดการหารายได้แบบพึ่งพาตนเอง ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์โดยมหาวิทยาลัยได้ประกาศให้ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยเทียบเท่าคณะเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 มีโครงสร้างองค์กรและการบริหารงานเหมือนคณะ เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนและการบริการทางการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การให้บริการ ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย และการบริการวิเคราะห์ทดสอบให้กับอาจารย์ นักศึกษาหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านศักยภาพบุคลากรและเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบ ด้วยต้นทุนศักยภาพของทรัพยากรบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการด้านการ วิเคราะห์ทดสอบทางเคมี จุลชีววิทยาและศักยภาพด้านเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง เช่น AAS, GC-MS, HPLC, NMR, Fat Analyzer, CNS Analyzer, UV-Visible Spectrophotometer, SEM รวมถึงบุคคลากรของศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มีการพัฒนาตนเองทางการศึกษาและการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านการวิเคราะห์ทดสอบอย่างต่อเนื่องปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการให้บริการหลัก ได้แก่ งานบริการวิเคราะห์ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม (ดิน พืช ปุ๋ย น้ำ) อาหาร เครื่องดื่ม โดยห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ ISO/IEC 17025 : 2017 โดยมีการรับรองผลการวิเคราะห์ทดสอบมากกว่า2,000 รายงานทดสอบ โดยมีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 170 ราย ซึ่งจำาแนกได้ดังนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 42 ราย โรงพยาบาล/สถานพยาบาล จำนวน 11 ราย สถานศึกษา จำนวน 10 แห่ง หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 9 แห่ง หน่วยงานเอกชน จำนวน 26 ราย อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา จำนวน 20 ราย วิสาหกิจชุมชน จำนวน 11 ราย ประชาชนทั่วไป จำนวน 18 ราย และฟาร์มเลี้ยงสัตว์/โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 23ราย รวมตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย อาหาร เครื่องดื่ม ในการวิเคราะห์ทดสอบทั้งหมด 781 ตัวอย่าง จำนวนรายการที่วิเคราะห์ทดสอบ 2,035 รายการ รวมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชน 572 ตัวอย่าง รายการที่วิเคราะห์ทดสอบ 2,400 รายการ (รายงานประจำปี 2567) นอกจากนี้ ยังมีงานบริการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชุมชนตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยความร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เพื่อดำเนินงานเป็นหน่วยตรวจสอบและทดสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ที่มีความสามารถในการตรวจสอบและทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มีขอบข่ายมาตรฐานที่ให้บริการจำนวน 1,374 มาตรฐาน ใน 5 ประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรไม่ใช่อาหาร ผ้า/เครื่องแต่งกาย และของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการมาใช้บริการ รวม 25 จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน น่าน ลำปาง แพร่ และอุตรดิตถ์ ภาคกลาง 14 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครปฐม สมุทรปราการ สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท ราชบุรี และกรุงเทพมหานคร ภาคอีสาน 1 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา และภาคใต้ 2 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช และปัตตานี รวมจำนวนตัวอย่างเฉลี่ย 572 ตัวอย่างต่อปี (รายงานประจำปี 2567)
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสนับสนุนที่ดำเนินงานสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการใช้ศาสตร์องค์ความรู้ของทรัพยากรบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชน ด้วยวิสัยทัศน์ของศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “เป็นผู้นำในการให้บริการงานวิเคราะห์ทดสอบ การบริการวิชาการด้วยการสร้างเครือข่ายในการสร้างและใช้นวัตกรรมองค์ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน) เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรและท้องถิ่น และมุ่งสู่มาตรฐานสากล”
- Hits: 23